บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2018

วิธีแก้ปัญหาสบู่เปื่อย

รูปภาพ
คำแนะนำในการจัดเก็บสบู่ การวางก้อนสบู่หลังจากการใช้งาน ไม่ควรวางในที่เปียกชื้น เพราะว่าน้ำจะทำให้สบู่เปื่อย และเสื่อมสภาพ ซึ่งทำให้สบู่หมดเร็ว นอกจากนั้นหากท่านโชคไม่ดีซื้อสบู่บางชนิดที่คุณภาพต่ำมาวาง มันจะละลายหายไปกลายเป็นของเหลวทั้งหมดในชั่วข้ามคืน ปัญหาที่จัดเก็บสบู่ ที่วางสบู่(Soap dish) มีทั้งแบบติดตั้งกับผนัง และแบบเคลื่อนย้ายได้ วัสดุที่ใช้ในการทำที่วางสบู่มีหลายชนิด เช่น พลาสติก เซรามิก  แก้ว สแตนเลส และไม้ เป็นต้น ที่วางสบู่บางแบบดูเหมือนผู้ผลิตออกแบบโดยเน้นความทนทาน และความเรียบ เพื่อให้ทำความสะอาดได้ง่าย แต่ผู้ใช้ต้องพบกับปัญหาที่วางสบู่มีน้ำขังง่าย แม้บางผู้ผลิตออกแบบให้สามารถหมุนเอียงเทน้ำออกได้ก็ตาม หากยังเป็นภาระที่ต้องคอยเทน้ำบ่อยๆ คงไม่สะดวกนัก การแก้ปัญหาด้วยการเจาะรูระบายน้ำ มีสิ่งที่ควรคำนึงดังนี้ 1. วิธีเจาะ 2. ความได้ผล 3. ความสวยงาม 4. เครื่องมือ 5. เวลา 6. ชิ้นงาน ลำดับข้้นตอนการเจาะรูที่วางสบู่แบบพลาสติก ลำดับแรก: กำหนดจุดที่ต้องการเจาะ แนะนำให้เลือกบริเวณส่วนก้นซึ่งอยู่ต่ำสุดเพื่อให้น้ำสามารถไหลออกได้ทั้งหมด จากนั้นใช้เหล็กตอกนำศูนย์ ลำดับสอง:

วิธีทำให้ยากันยุงดับเอง

รูปภาพ
ยากันยุงแบบขด (Mosquito coil) ในปัจจุบันนั้น มี 2 แบบ คือ แบบใช้สารเคมี และแบบใช้สมุนไพรธรรมชาติ ประโยชน์ของยากันยุง ไม่ได้ใช้สำหรับป้องกันยุงที่มาสร้างความรำคาญเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการป้องกันอย่างง่ายๆ จากโรคภัยต่างๆ ที่มียุงเป็นพาหะ อันได้แก่ ไข้เลือดออก (Dengue Fever), มาลาเรีย (Malaria), เท้าช้าง(Elephantiasis), ชิคุนกุนย่า (Chikunkunya), ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis), และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus disease) ปัญหาของการใช้ยากันยุง ยากันยุงแบบขดเมื่อจุดไปได้สักพักนึงยุงจะหายไป แต่ยากันยุงมักถูกปล่อยให้ติดไฟไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดขดซึ่งทำให้สิ้นเปลือง นอกจากนั้น กลิ่นควันจากยากันยุงก็เป็นสิ่งที่น่ารำคาญพอสมควร และการสูดดมเข้าไปในร่างกายมากๆ ยังเป็นการเสี่ยงภัยจากสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย นี่คือปัญหาที่่ผู้เขียนเองต้องเจอบ่อยๆ และรู้สึกเสียค่าโง่ไปหลายครั้งนับไม่ถ้วน ตามปรกติผู้เขียนจะแก้ปัญหาด้วย วิธีที่ไม่เวิร์ค  3 วิธี ดังนี้ 1. เอาน้ำไปหยดใส่ไฟ ผลเสียมักจะปรากฏในวันถัดมาซึ่งบ้างครั้งจะพบว่า ยากันยุงชื้น ย้วย เสียรูปทรง 2. หยิบจับให้ส่วนที่ติดไฟจมอยู่ในกอง

เทคนิคการยืดอายุแบตเตอรี่สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต

รูปภาพ
ใช้สำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเท่านั้น 1. ตั้งเวลาเปิด-ปิดเครื่องอัตโนมัติ เช่น ให้เครื่องปิดเองทุกๆ วันเมื่อถึงเวลา 3 ทุ่ม และให้เปิดทุกวันในเวลา 6 โมงเช้า 2. ควรชาร์จไฟบ่อยๆ เมื่อระดับ 37% ถึง 75% (อย่าชาร์จเมื่อยังมีไฟสูงกว่า 75% และไม่ควรให้ไฟเหลือต่ำกว่า 35%) 3. อย่าชาร์จไฟเกิน 97% ถึง 98% โดยเมื่อท่านทำการชาร์จ (ใช้แอปตั้งเตือนได้ดู 5.1) 4. อย่าตั้งโทรศัพท์ไว้ในที่แสงแดดส่องกระทบ หรือบริเวณที่มีความร้อน 5. ใช้แอปช่วยบำรุงรักษา  เตือนให้ดึงปลั๊กเมื่อชาร์จเต็ม ตัวอย่างแอปชื่อ Battery Alarm 6. อย่าใช้งานระหว่างการชาร์จเพราะแบตเตอรี่จะเสื่อมอย่างรวดเร็ว